จดทะเบียนบริษัทดีไหม มีขั้นตอนอะไรบ้าง

จดทะเบียนบริษัทดีไหม มีขั้นตอนอะไรบ้าง

 

ขั้นตอนการเปิดธุรกิจใหม่

จดทะเบียนบริษัทดีไหม มีขั้นตอนอะไรบ้าง

1.สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่สงสัยว่าควรจดทะเบียนบริษัทเมื่jอไหร่ มีขั้นตอนอย่างไรบ้างทางเรามีข้อมูลนำเสนอดังนี้้

-จดทะเบียนบริษัทเมื่อมีรายได้มากกว่า 750,000 บาทต่อปีขึ้นไปและต้องการสร้างเครดิตทางบัญชี

-จดทะเบียนบริษัทมี 2 ประเภท ได้แก่ ทะเบียนพาณิชย์และนิติบุคคล

-ทะเบียนพาณิชย์ เหมาะสำหรับกิจการขนาดเล็กที่มีมูลค่ากิจการไม่สูงนัก

-ทะเบียนนิติบุคคล เหมาะสำหรับกิจการที่มีผู้ประกอบการร่วมกัน 2 คน การกระทำทุกอย่างจะเป็นไปในนามกิจการ

-จดทะเบียนบริษัทมี 5 ขั้นตอนได้แก่ ตรวจและจองชื่อบริษัท จองและจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ รอนายทะเบียนตรวจสอบเอกสาร เตรียมเอกสารเพื่อใช้จดทะเบียนบริษัทและสุดท้ายคือยื่นขอจดทะเบียนบริษัท

 

2.จดทะเบียนบริษัทดีไหม มีขั้นตอนอะไรบ้าง

สำหรับผู้ประกอบการ  SME เมื่อธุรกิจเติบโดมาถึงระดับหนึ่งอาจเริ่มคิดถึงเรื่องการจดทะเบียนบริษัทที่ว่ากันว่าจำเป็นขึ้นมาแล้วและผู้ประกอบการอาจไม่แน่ใจในข้อดี ข้อเสียรวมถึงไม่แน่ใจว่าอะไรบ้างที่จะบอกเราได้ว่านี่แหละคือเวลาที่ควรจดทะเบียนบริษัทแล้ว

 

-จดทะเบียนบริษัทเมื่อไหร่ดี กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าเมื่อไหร่กันแน่ที่ควรจดทะเบียนการค้า แต่สิ่งที่เป็นสัณณานบอกได้ว่าเมื่อถึงเวลาแล้วคือ รายรับของบริษัทนั่นเอง

 

-เมื่อรายได้มากกว่า 750,000 ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียนบริษัท ฐานเงินได้เมื่อต้องจ่ายภาษีจะถูกคำนวณแบบเป็นเงินได้บุคคลธรรมดา ที่มีฐานรายได้สูงสุดที่ 750,000 บาท เสียภาษีที่ 35% แต่ถ้าจดทะเบียนบริษัทแล้วภาษ๊เงินได้สูงสุดที่ต้องจ่ายจะอยู่ที่ 20% ซี่งตรงนี้จะมองว่ามากหรือน้อยกว่าก้อได้เพราะปัจจัยในการคำนาณเงินได้ของบุคคลกับบริษัทที่ผ่านการจดทะเบียนมาแล้วมีความแตกต่างกัน ผู้ประกอบการควรพิจารณาส่วนนี้ให้ดี

 

-เมื่อต้องการสร้างเครดิตทางบัญชี เมื่อบริษัทเติบโตถึงจุดหนึ่ง ผู้ประกอบการที่ต้อบการขยับขยายให้บริษัทเติบโตขึ้นจะมีอีกเรื่องที่ต้องคิดถึงนั่นคือหลักฐานที่ใช้แสดงเพื่อยื่นขอสินเชื่อ ซึ่งบัญชีรายรับรายจ่าย งบการเงินต่างๆ จะเป็นเครดิตที่ดีหากมีการยื่นขออนุมัติ การจดทะเบียนบริษัทที่มาพร้อมการแยกบัญชีราบรับรายจ่ายของผู้ประกอบการออกจากบัญชีของบริษัทเองจะช่วยให้เห็นตัวเลขจริงที่เกิดจากการบริหารงานของบริษัทนั้นๆซึ่งข่วยให้การยื่นขออนุมัติสินเชื่อเป็นไปได้อย่างรวดเร็วขึ้น

 

-จดทะเบียนบริษัทมีกี่ประเภท การจดทะเบียนบริษัทแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

  จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) คิอการจดทะเบียนบริษัทของกิจการที่มีผู้       ประกอบการเพียงคนเดียว คิดเองทำเองมีอิสระและสามารถตัดสินใจทุกอย่างเกี่ยวกับกิจการได้เต็มที่หรือเหมาะกับกิจการขนาดเล็กที่ขายสินค้าหรือบริการง่ายๆไม่ยุ่งยาก มูลค่าของกิจการไม่สูงมาก ข้อดีคือผู้ประกอบการจะได้รับกำไรเต็มๆและเสียภาษีโดยคำนาณอัตราภาษีหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเท่านั้น แต่ถ้ากิจการขาดทุนก็ต้องรับผิดชอบทุกอย่างรวมถึงหนี้สินแบบไม่จำกัดเช่นกัน

 

 

จดทะเบียนบริษัทแบบนิติบุคคล สำหรับกิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

 

ลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน การกระทำทุกอย่างจะเป็นในนามกิจการทั้งหมด ข้อดีคือ ภาษีเงินได้สูงสุดที่จะต้องจ่ายจะอยู่ที่ 20% ซึ่งน้อยกว่าการจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ ส่วน

 

ข้อเสียคือ กรดำเนินการอาจมีความล่าช้าเพราะมีผู็ตัดสินใจหลายคน โดยทะเบียนนิติบุคคลมี 3 ประเภทแบ่งตามการรับผิดชอบหนี้สิน ที่ ‘จำกัด’ หรือ ‘ไม่จำกัดจำนวน’ ดังนี้

 

-ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ คือกิจการที่มีผู้ประกอบการ 2 คนขึ้นไปจะจดหรือไม่จดทะเบียนนิติบุคคลก้อได้ โดยความรับผิดชอบของหุ้นส่วนมีประเภทเดียวเท่านั้น คือ ผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ ‘ไม่จำกัดจำนวน”ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถตกลงทำกิจการร่วมกันและแบ่งปันกำไรจากกิจการได้อีกด้วย แต่ถ้ากิจการขาดทุน หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบหนี้สินร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน

 

-ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือกิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ต้องจดทะเบียนนิติบุคคลความรับผิดชอบของหุ้นส่วน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือแบบ “จำกัด” และแบบ  “ไม่่จำกัด” ผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “จำกัด” จะไม่สามารถตัดสินใจในกิจการได้ และผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “ไม่จำกัดจำนวน” จะมีสิทธิ์ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆในกิจการได้ทั้งหมด ถ้าหากกิจการขาดทุน ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะไม่ต้องจ่ายภาษี

 

-บริษัทจำกัด คือกิจการที่มีผู้ประกอบการ 3 คนขึันไป ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนมีประเภทเดียว คือ ผู้ที่รับผิดชอบหนี้สินแบบ “จำกัด” ไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ค้างชำระ ซึ่งกิจการนี้ต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี มีการวางแผนกิจการรัดกุม และมีการบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการบริษัทเพื่อทำให้กิจการเกิดความน่าเชื่อถือ

 

จดทะเบียนบริษัทมีขั้นตอนอะไรบ้าง

 

1.ตรวจและจองชื่อบริษัท

-เข้าไปที่ เว็บไซต์กรามพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อสมัครสมาชิกได้ฟรี                                                                      

-เข้าไปที่ จองชื่อ/ตรวจทะเบียนคำขอนิติบุคคล เพื่อจองชื่อบริษัท ซึ่งสามารถทำได้มากถึง 3 ชื่อโดยชื่อ    

 นั้นๆจะต้องไม่ซ้ำหรือใกล้เคียงกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปแล้ว 

 

2.จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือแสดงความต้องการในการจัดตั้งบริษัท โดยจะต้องยื่น       

     ภายใน 30 วันจากวันที่นายทะเบียนรับรองชื่อเรียบร้อย

    -ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจัดตั้งบริษัท

      -ชื่อของบริษัท (ตามที่ได้จองชื่่อไว้)

      -ที่ตั้งสำนักงานใหญ่/สาขา

      -วัตถุประสงค์ของบริษัท

      -ทุนจดทะเบียน

      -ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ ของพยานทั้ง 2 คน

      -ข้อบังคับ (ถ้ามี)

      -จำนวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชำระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25% ของทุนจดทะเบียน

      -ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการ

      -รายชื่อหริอจำนวนกรรมการผู้ที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท (อำนาจกรรมการ)

      -ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาติพร้อมค่าตอบแทน

      -ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ และจำนวนหุ้นของผู็ถือหุ้นแต่ละคน.

 

3.รอนาทะเบียนตรวจสอบเอกสาร

เมื่อส่งเอกสารตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ให้รอการตรวจสอบจากนายทะเบียน หากมีส่วนไหนที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมจะได้รับการแจ้งกลับ

 

4.เตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อใช้จดทะเบียนบริษัท 

       -แบบจองชื่อนติบุคคล

       -สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน

       -สำเนาหลักฐานการชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น

       -แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป

หมายเหตุ : เอกสารทุกฉบับผู็ขอจดทะเบียนจะต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องอย่างน้อยหนึ่งคนยกเว้นสำเนาบัตรประจำตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู็ขอจดทะเบียนเจ้าของบัตรจะต้องเป็นผู้เซ็นรับรองความถูกต้องด้วยตนเอง

 

5.ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท

ยื่นคำขอได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่ใกล้บ้านผู้ประกอบการทุกจังหวัดทั่วประเทศ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนและมอบหนังสือรับรอง ก็แสดงว่าผู้ประกอบการเป็นเจ้าของบริษัทที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

 

6.ค่าธรรมเนียมเป็นอย่างไร ใช้เวลากี่วัน 

       -การจองชื่อและยื่นตรวจเอกสารออนไลน์ใช้เวลาประมาณ 1 วัน และเมื่อนายทะเบียนตรวจสอบเอกสารเสร็จ ดำเนินการยื่นจดทะเบียนใช้เวลาประมาณ 1 วันเป็นอันเสร็จสิ้น

       -ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ คิดจากทุนแสนละ 50 บาท

โดยเกณฑ์การชำระขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท และสูงสุดได้ไม่เกิน 25,000 บาท

       -ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท ตามทุนจดทะเบียนแสนละ 500 บาท

ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 250,000 บาท

       -ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท

      -ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท

      -ค่ารับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท

 

สรุปว่าการจดทะเบียนบริษัทส่งผลดีกับบริษัทผู้ประกอบการหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษี ความน่าเชื่อถือทางธุรกิจ รวมถึงสร้างโอกาสในการขอสินเชื่อเพื่อพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการและสร้างความถูกต้องในเรื่องของกฎหมาย เพราะฉะนั้นเมื่ิอผู้ประกอบการได้ศึกษาการจดทะเบียนอย่างถี่ถ้วนแล้วจะพบว่าการจดทะเบียนย่อมสร้างประโยชน์มากกว่าโทษ